วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558


                   การขนส่งทางอากาศ (Air Transportation)
         

      การขนส่งสินค้าทางอากาศ  หมายถึง  การขนส่งที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายประต่างๆ มีการพัฒนาสนามบินพาณิชย์ให้ทันสมัยและเพียงพอกับความต้องการของบริษัทที่สร้างเครื่องบินซึ่มีขนาดใหญ่และสมรรถภาพในการบินสูง  สามารถบรรจุสินค้าและบรรทุกผู้โดยสารได้มากขึ้น  มีเครื่องมือในการขนส่งสินค้าอันทันสมัยครบครัน  นอกจากนี้ยังมีการขยายและปรับปรุงบริเวณคลังสินค้าที่ท่าอากาศยานให้กว้างขวางทันสมัยเพื่อการขนส่งสินค้าดำเดินบทบาทของการขนส่งทางอากาศกับการค้าระหว่างประเทศ
วิธีการให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ  สำหรับการขนส่งสินค้าทางอากาศในประเทศไทย  เมื่อผู้ต้องการขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังผู้รับในต่างประเทศ จะต้องมีขั้นตอน
 ประเภทของสินค้าทางอากาศ (Classification of Cargo )
              สินค้าทางอากาศ  สามารถแบ่งได้เป็น  4  ประเภทหลัก  ได้แก่
              1.สินค้าทั่วไป  (General Cargo)
              2.สินค้าที่ต้องการการดูเเลเป็นพิเศษ (Special Cargo)
              3.สินค้าของบริษัทสายการบินเเละพนักงาน (Service Cargo)
              4.สินค้าเเละไปรษณีย์ภัณฑ์ทางการทูต (Diplomatic Cargo and Mail)

วิธีการให้บริการขนส่ง ดังต่อไปนี้  คือ
                -ขั้นตอนที่ 1  ผู้ส่งสินค้าทางอากาศจะต้องติดต่อตัวแทนผู้รับจัดการขนส่ง เมื่อมีการตกลงระหว่างผู้ส่งสินค้ากับตัวแทนเรียบร้อยแล้ว ถ้าหากสินค้ามีจำนวนหรือปริมาณไม่มากนักก็อาจส่งให้ตัวแทนในเมืองได้แต่ถ้าหากสินค้านั้นมีปริมาณมากจะต้องส่งสินค้าทางสนามบิน
                 -ขั้นตอนที่2  หลังจากผู้ส่งสินค้าได้ชำระค่าระวาง (ในกรณีที่ขายสินค้าในราคา C&F จะต้องเก็บค่าระวางต้นทาง ถ้าในกรณีขายสินค้า  E.O.B ก็จะเก็บค่าระวางปลายทาง)  และผ่านการตรวจสอบของศุลกากรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สายการบินจะนำสินค้าไปเก็บในคลังสินค้าขาออกเพื่อเตรียมขึ้นเครื่องบินต่อไป
                 -ขั้นตอนที่3  ถ้าหากมีการถ่ายลำสินค้านั้น ก็จะถูกนำไปดเก็บในคลังสินค้าสำหรับการถ่ายลำ
    การให้บริการตามชนิดสินค้า  เป็นการผลิตบริการของสายการบินในการให้บริการรับส่งสินค้าทางอากาศตามชนิดของสินค้าแต่ละประเภท  ซึ่งสินค้าที่เหมาะสมในการขนส่งทางอากาศสามารถแบ่งได้ 4 ประเภทด้วยกัน
      1.ประเภทสินค้าที่เก็บไว้ได้ไม่นาน ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าเกษตรกรรมซึ่งเน่าเสียได้เสีย (Perishable Goods) ได้แก่ ผลไม้สด ดอกไม้สด ผักสด ต้นไม้ สัตว์มีชีวิต เป็นต้น
        2.ประเภทสินค้าต้องการรีบด่วน ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ต้องการให้ทันต่อเหตุการณ์  เป็นสิ่งของช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ที่จะส่งมอบให้เเก่ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติหรือสงคราม  หรือต้องการ
อะไหล่เพื่อเปลี่ยนโดยด่วนหรือสินค้าที่ต้องการทดสอบตลาด เป็นต้น
       3.ประเภทสินค้าที่ล้าสมัย  ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทง่ายต่อการล้าสมัย  เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน
หนังสือรายสัปดาห์  นิตยสารหรือวารสารรายปักษ์  เสื้อผ้า  แฟชั่นตามสมัย  เป็นต้น
       4.ประเภทสินค้าที่มีมูลค่าสูง  ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทที่มีมูลค่าสูง  แต้มีน้ำหนักไม่มาก  เช่น  อัญมณี  ทองคำ  ธนบัตร  เครื่องประดับ  ชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิกส์  เป็นต้น  ในการให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศของสายการบินนั้นมีสินค้าหลายชนิดที่ธุรกิจการบินไม่รับขนส่งให้แก่ผู้ใช้บริการ  เนื่องจากเป็นสินค้าที่ขัดต่อศีลธรรม  ความสงบเรียบร้อยเเละความปลอดภัย  ซึ่งสินค้าที่ห้ามทำการขนส่งทางอากาศ  โดยกฎกระทรวงฉบับที่ 6 พ.ศ.2498  ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497

การให้บริการคลังสินค้า
              เป็นการให้บริการของธุรกิจการบินในด้านสถานที่เก็บสินค้าชั่วคราวแก่ผู้ใช้บริการขนส่งสินค้า  เพื่อรอการตรวจตราจากศุลกากรเเละรอการรับจากผู้รับสินค้า  หรืออาจจะรอการถ่ายลำเพื่อส่งสินค้าไปยังประเทศอื่น  ตามปกติคลังสินค้าประเภทนี้จะไม่คิดค่ารักษาภายในกำหนดเวลาไม่เกิน  48  ชั่วโมง โดยทั่วไปสายการบินแต่ละสายจะมีคลังสินค้าของตนเอง  ซึ่งอาจเช่าสถานที่จากรัฐบาลเพื่อดำเนินการจัดเก็บสินค้าของลูกค้าผู้ใช้บริการของสายการบินเอง  ฉะนั้นเมื่อมีการขนส่งสินค้าทางอากาศโดยสายการบินได้  ผู้รับสินค้าจะต้องไปรับ ณ คลังสินค้า  ของสายการบินนั้น

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขนส่งสินค้าทางอากาศ
              สมาคมการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ (TheInternational  Air  Cargo  Association - TIACA)  ได้ประมาณการณ์ไว้ว่า ในปัจจุบันกว่าร้อยละ  34  ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ  ต้องอาศัยการขนส่งสินค้าทางอากาศ  ยิ่งไปกว่านั้นการขนส่งสินค้าทางอากาศยังมีอัตราเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยที่ปริมาณสินค้าที่ขนส่งทางอากาศได้ขยายเกือบเท่าตัวในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา  แม้จะประสบกับภาวะตกต่ำในบางช่วงก็ตาม  แต่ธุรกิจการบินที่บริการขนส่งสินค้าทางอากาศสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขยายตัวของการขนส่งสินค้าทางอากาศที่สำคัญมี 6 ประการ คือ
             1.การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน  รวมถึงการพัฒนาทั้งทางด้านเกษตรเเละอุตสาหกรรมของโลกได้ก่อให้เกิดประเภทของสินค้าต่างๆ หลากหลายขึ้นมา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่มีมูลค่าสูง  แต่มีขนาด  ปริมาตร  และน้ำหนักไม่มาก  ซึ่งเป็นสินค้าที่จำเป็นต้องอาศัยระบบการขนส่งที่รวดเร็วปลอดภัย  เเละมีการดูแลสภาพของสินค้าอย่างดีที่สุด  เช่นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  อุปกรณ์ชิ้นส่วนยานยนต์  เครื่องมือเเละอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีมูลค่าสูง  อัญมณีเเละเครื่องประดับ
             2.การขยายตัวทางเศรษฐกิจโลก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตของประมาณการค้าของโลกเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปริมาณเเละประเภทของสินค้าที่ต้องอาศัยการขนส่งทางอากาศเพิ่มขึ้น  ยิ่งไปกว่านั้นการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก (World Trade Organixation - WTO)
            3.ธุรกิจเเบบครบวงจร  เป็นธุรกิจที่ต้องการด้านการขนส่งที่เชื่อถือเเละวางใจได้  เพื่อนำสิ่งต่างๆ ที่กิจการต้องการมาให้ในสภาพที่ดีเเละตามกำหนดเวลา  เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเก็บเเละบำรุงรักษา  การขนส่งสินค้าทางอากาศจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมของธุรกิจนี้
           4.แนวทางการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่เรียกว่า Just-in-Time Concept  แนวทางดังกล่าวมุ่งเน้นการบริหารสินค้าคงเหลือเเละปริมาณสต็อกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  เพื่อเป็นการลดต้นทุนการดำเนินงานภายใต้วิธีการบริหารจัดการแบบ Just-in-Time Concept  นี้ผู้ประกอบการในธุรกิจระหว่างประเภทจะมีสต็อกสินค้าในปริมาณต่ำที่สุดหรือเฉพาะในปริมาณเท่าที่จำเป็นเท่านั้น  แต่แนวทางการบริหารดังกล่าวจะประสบผลได้  ก็จะต้องอาศัยระบบการจัดส่งสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้ขายเเละสู่ตลาดที่มีความรวดเร็วตรงเวลา  ถูกต้องเเละเเม่นยำ
          5.การผ่อนปรนกฎเเละข้อบังคับของประเทศต่างๆ  ทำให้ธุรกิจการบินสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น
          6.นโยบายเปิดเสรีทางการบินพาณิชย์  ทำให้ธุรกิจการบินต่างๆ  ทั้งขนส่งผู้โดยสารเเละขนส่งสินค้า  สามารถขยายบริการไปยังน่านฟ้าประเภทต่างๆ ได้เสรีมากขึ้น  ธุรกิจการบินจึงหันมาเพิ่มบทบาทในบริการขนส่งสินค้าทางอากาศกันมากขึ้น  โดยการจัดตั้งธุรกิจการบินรับส่งสินค้าขึ้นมาโดยเฉพาะ
         7.การผลิตเครื่องบินรุ่นใหม่  จะเป็นเครื่องบินที่ได้พัฒนาเเละปรับปรุงให้มีสมรรรถนะเเละประสิทธิภาพสูง  สามารถบรรทุกน้ำหนักได้มากขึ้น  เเละบินได้ระยะทางที่ไกล  ทำให้การส่งสินค้าทางอากาศขยายตัวได้มากขึ้น
        8.ท่าอากาศยาน  ระบบพื้นฐานของท่าอากาศยานในปัจจุบันเเละที่สร้างหรือปรับปรุงใหม่ล้วนเอื้ออำนวยต่อการขนส่งสินค้าทางอากาศเป็นอย่างมาก  เพราะสามารถเชื่อมโยงระบบขนส่งทั้งทางรถไฟ รถยนต์  เรือ  เเละเครื่องบินเข้าด้วยกัน  อีกทั้งยังมีระบบสื่อสารที่ทันสมัยไว้บริการ
        9.น้ำมันเชื้อเพลิง  เป็นปัจจัยสำคัญที่ดำเนินการเเละกำหนดราคาค่าขนส่งถ้าหากปราศจากน้ำมันเชื้อเพลิง  ก็ไม่สามารถดำเนินงานขนส่งสินค้าทางอากาศได้

ระยะเวลาในการขนส่ง
1.    แบบเร่งด่วนพิเศษ1-2วัน
2.    แบบรวดเร็ว 3-5วัน
3.    แบบธรรมดา
อ้างอิง http://www.marut.th.com/pr/mshow_index.php3?id=34

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น