วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558


หีบห่อและบรรจุภัณฑ์

บทบาทของการบรรจุภัณฑ์ (Packaging) จะมีพันธะกิจหลักเพื่อการขนย้าย , เก็บรักษาสินค้าให้คงสภาพ และสามารถจัดเรียง รวบรวม อยู่ในเนื้อที่ซึ่งจำกัด ให้มีปริมาตรการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดซึ่งจะส่งผลต่อการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆในระบบโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพและต่อต้นทุนโลจิสติกส์ อีกทั้ง บรรจุภัณฑ์ที่ดี จะมีการออกแบบเพื่อให้ทำหน้าที่ในการป้องกันสินค้าที่บรรจุอยู่ภายในไม่ให้ได้รับความเสียหายหรือเสื่อมค่าทั้งในระหว่างการขนส่งและหรือระหว่างการเก็บเพื่อรอส่งมอบ นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์ยังสามารถช่วยให้การจัดวางหรือจัดเรียงสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังมีส่วนสำคัญในฐานะเป็น “Logistics Supporting” ที่จำเป็นต่อการขนย้ายสินค้าจากแหล่งต้นน้ำให้มีการส่งต่อสินค้าผ่านกิจกรรมต่างๆทางโลจิสติกส์จนสินค้าไปสู่ผู้รับปลายทางและหรือผู้บริโภคในสภาพที่ปลอดภัยมีความสะดวกและมีต้นทุนในการส่งมอบที่ประหยัด  ทั้งนี้แพคเกจจิ้งหรือการบรรจุภัณฑ์  มีความหมายรวมถึง ภาชนะ , กล่อง , หีบ ,  ห่อ , ลัง , พาเลท , ตู้ หรือสิ่งอื่นใดที่ทำหน้าที่เพื่อการบรรจุวัตถุดิบสินค้าหรือสิ่งของไว้ภายใน จึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้ระบบโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพและเป็นเครื่องมือในการกระจายสินค้าตลอดโซ่อุปทานจนไปสู่ผู้ใช้หรือผู้บริโภค
           นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์ยังมีบทบาทต่อการส่งเสริมทางการตลาด(Market Promotion) โดยการเน้นในเรื่องของความสวยงาม ความสะดุดตาและดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคให้มีการตัดสินใจซื้อ บรรจุภัณฑ์ในยุคปัจจุบันจึงทำหน้าที่ในการสร้าง “Image” หรือภาพลักษณ์ ของสินค้าก่อนที่ผู้ซื้อจะเห็นตัวสินค้าจริง (ซึ่งอยู่ภายใน) จะเห็นได้ว่า ภายใต้การแข่งขันที่รุนแรง บรรจุภัณฑ์ที่บรรจุสินค้าสำหรับผู้บริโภคจะมีการดีไซน์รูปแบบหรือสีสันเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ รวมถึงมีข้อความประชาสัมพันธ์และโฆษณาสินค้าที่บรรจุอยู่ภายใน ในปัจจุบันบรรจุภัณฑ์จึงมีบทบาทต่อประสิทธิภาพของการส่งมอบสินค้าภายใต้ความพึงพอใจของสินค้า อย่างไรก็ตาม  แพคเกจจิ้งไม่ใช่มีบทบาทเฉพาะเพียงที่สำหรับใส่หรือบรรจุสินค้าแต่ยังเกี่ยวข้องกับรูปลักษณ์และการเพิ่มคุณค่าของสินค้า เพื่อให้ขายสินค้าได้ง่ายขึ้น หรือขายสินค้าได้ราคาที่ดีกว่า กล่าวคือ ทำหน้าที่เป็น Marketing Image ในการช่วยให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจซื้อสินค้า ขณะเดียวกันแพคเกจจิ้งยังจะออกแบบให้สะดวกต่อการจับต้องหรือหยิบฉวย (Handling) ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกของผู้บริโภคและหรือเพื่อการเคลื่อนย้ายในคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้า รวมทั้ง เพื่อการขนส่งและการส่งมอบสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ   บรรจุภัณฑ์จึงเป็นปัจจัยสำคัญให้ระบบโลจิสติกส์มีการขับเคลื่อนเป็นแบบพลวัตร  
อ้างอิง http://www.tanitsorat.com/v2/showcontent.php?id=339






                   
การขนส่งทางท่อ (Pipeline Transportation)

การขนส่งทางท่อ ( Pipeline Transportation)
เป็นการขนส่งสิ่งของประเภทของเหลวและก๊าซผ่านสายท่อ เช่น น้ำประปา น้ำมัน
ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งการขนส่งทางท่อจะแตกต่างกับการขนส่งประเภทอื่น คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งไม่ต้องเคลื่อนที่ โดยเส้นทางขนส่งทางท่ออาจจะอยู่บนดิน ใต้ดินหรือใต้น้ำ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ประเทศแรกที่ใช้ระบบการขนสงทางท่อ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้สำหรับขนส่งสินค้าประเภทเชื้อเพลิง   ปัจจุบันประเทศไทยใช้ระบบการขนส่งทางท่อสำหรับสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงและ ก๊าซธรรมชาติ

ข้อดีและข้อเสียของการขนส่งทางท่อ                                                                                              ข้อดี                                                                                                                                              
1.ประหยัดต้นทุน เวลาในการขนย้ายสินค้า 
 2.สามารถขนส่งได้ทุกสภาพภูมิอากาศ 

 3.สามารถขนส่งได้ไม่จำกัดเวลาและ
ปริมาณ 
 4.มีความปลอดภัยสูงจากการสูญหาย
หรือลักขโมย 
 5.กำหนดเวลาการขนส่งได้แน่นอนชัดเจน
 
 6.ประหยัดค่าแรง เพราะใช้กำลังคนน้อย
ข้อเสีย                                                                                                                                             1.ใช้ขนส่งได้เฉพาะสินค้าที่เป็นของเหลวหรือก๊าซเท่านั้น 
 2.ค่าใช้จ่ายในการลงทุนครั้งแรกสูง 

 3.ตรวจสอบหาจุดบกพร่องทำได้ยาก 

 4.
ท่อหลักที่ใช้ขนส่งเมื่อวางแล้วเคลื่อนย้ายเปลี่ยนเส้นทางไม่ได้ 
 5.ไม่เหมาะกับการขนส่งในภูมิประเทศที่มีแผ่นดินไหวบ่อย
 








                   การขนส่งทางอากาศ (Air Transportation)
         

      การขนส่งสินค้าทางอากาศ  หมายถึง  การขนส่งที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายประต่างๆ มีการพัฒนาสนามบินพาณิชย์ให้ทันสมัยและเพียงพอกับความต้องการของบริษัทที่สร้างเครื่องบินซึ่มีขนาดใหญ่และสมรรถภาพในการบินสูง  สามารถบรรจุสินค้าและบรรทุกผู้โดยสารได้มากขึ้น  มีเครื่องมือในการขนส่งสินค้าอันทันสมัยครบครัน  นอกจากนี้ยังมีการขยายและปรับปรุงบริเวณคลังสินค้าที่ท่าอากาศยานให้กว้างขวางทันสมัยเพื่อการขนส่งสินค้าดำเดินบทบาทของการขนส่งทางอากาศกับการค้าระหว่างประเทศ
วิธีการให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ  สำหรับการขนส่งสินค้าทางอากาศในประเทศไทย  เมื่อผู้ต้องการขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังผู้รับในต่างประเทศ จะต้องมีขั้นตอน
 ประเภทของสินค้าทางอากาศ (Classification of Cargo )
              สินค้าทางอากาศ  สามารถแบ่งได้เป็น  4  ประเภทหลัก  ได้แก่
              1.สินค้าทั่วไป  (General Cargo)
              2.สินค้าที่ต้องการการดูเเลเป็นพิเศษ (Special Cargo)
              3.สินค้าของบริษัทสายการบินเเละพนักงาน (Service Cargo)
              4.สินค้าเเละไปรษณีย์ภัณฑ์ทางการทูต (Diplomatic Cargo and Mail)

วิธีการให้บริการขนส่ง ดังต่อไปนี้  คือ
                -ขั้นตอนที่ 1  ผู้ส่งสินค้าทางอากาศจะต้องติดต่อตัวแทนผู้รับจัดการขนส่ง เมื่อมีการตกลงระหว่างผู้ส่งสินค้ากับตัวแทนเรียบร้อยแล้ว ถ้าหากสินค้ามีจำนวนหรือปริมาณไม่มากนักก็อาจส่งให้ตัวแทนในเมืองได้แต่ถ้าหากสินค้านั้นมีปริมาณมากจะต้องส่งสินค้าทางสนามบิน
                 -ขั้นตอนที่2  หลังจากผู้ส่งสินค้าได้ชำระค่าระวาง (ในกรณีที่ขายสินค้าในราคา C&F จะต้องเก็บค่าระวางต้นทาง ถ้าในกรณีขายสินค้า  E.O.B ก็จะเก็บค่าระวางปลายทาง)  และผ่านการตรวจสอบของศุลกากรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สายการบินจะนำสินค้าไปเก็บในคลังสินค้าขาออกเพื่อเตรียมขึ้นเครื่องบินต่อไป
                 -ขั้นตอนที่3  ถ้าหากมีการถ่ายลำสินค้านั้น ก็จะถูกนำไปดเก็บในคลังสินค้าสำหรับการถ่ายลำ
    การให้บริการตามชนิดสินค้า  เป็นการผลิตบริการของสายการบินในการให้บริการรับส่งสินค้าทางอากาศตามชนิดของสินค้าแต่ละประเภท  ซึ่งสินค้าที่เหมาะสมในการขนส่งทางอากาศสามารถแบ่งได้ 4 ประเภทด้วยกัน
      1.ประเภทสินค้าที่เก็บไว้ได้ไม่นาน ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าเกษตรกรรมซึ่งเน่าเสียได้เสีย (Perishable Goods) ได้แก่ ผลไม้สด ดอกไม้สด ผักสด ต้นไม้ สัตว์มีชีวิต เป็นต้น
        2.ประเภทสินค้าต้องการรีบด่วน ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ต้องการให้ทันต่อเหตุการณ์  เป็นสิ่งของช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ที่จะส่งมอบให้เเก่ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติหรือสงคราม  หรือต้องการ
อะไหล่เพื่อเปลี่ยนโดยด่วนหรือสินค้าที่ต้องการทดสอบตลาด เป็นต้น
       3.ประเภทสินค้าที่ล้าสมัย  ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทง่ายต่อการล้าสมัย  เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน
หนังสือรายสัปดาห์  นิตยสารหรือวารสารรายปักษ์  เสื้อผ้า  แฟชั่นตามสมัย  เป็นต้น
       4.ประเภทสินค้าที่มีมูลค่าสูง  ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทที่มีมูลค่าสูง  แต้มีน้ำหนักไม่มาก  เช่น  อัญมณี  ทองคำ  ธนบัตร  เครื่องประดับ  ชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิกส์  เป็นต้น  ในการให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศของสายการบินนั้นมีสินค้าหลายชนิดที่ธุรกิจการบินไม่รับขนส่งให้แก่ผู้ใช้บริการ  เนื่องจากเป็นสินค้าที่ขัดต่อศีลธรรม  ความสงบเรียบร้อยเเละความปลอดภัย  ซึ่งสินค้าที่ห้ามทำการขนส่งทางอากาศ  โดยกฎกระทรวงฉบับที่ 6 พ.ศ.2498  ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497

การให้บริการคลังสินค้า
              เป็นการให้บริการของธุรกิจการบินในด้านสถานที่เก็บสินค้าชั่วคราวแก่ผู้ใช้บริการขนส่งสินค้า  เพื่อรอการตรวจตราจากศุลกากรเเละรอการรับจากผู้รับสินค้า  หรืออาจจะรอการถ่ายลำเพื่อส่งสินค้าไปยังประเทศอื่น  ตามปกติคลังสินค้าประเภทนี้จะไม่คิดค่ารักษาภายในกำหนดเวลาไม่เกิน  48  ชั่วโมง โดยทั่วไปสายการบินแต่ละสายจะมีคลังสินค้าของตนเอง  ซึ่งอาจเช่าสถานที่จากรัฐบาลเพื่อดำเนินการจัดเก็บสินค้าของลูกค้าผู้ใช้บริการของสายการบินเอง  ฉะนั้นเมื่อมีการขนส่งสินค้าทางอากาศโดยสายการบินได้  ผู้รับสินค้าจะต้องไปรับ ณ คลังสินค้า  ของสายการบินนั้น

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขนส่งสินค้าทางอากาศ
              สมาคมการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ (TheInternational  Air  Cargo  Association - TIACA)  ได้ประมาณการณ์ไว้ว่า ในปัจจุบันกว่าร้อยละ  34  ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ  ต้องอาศัยการขนส่งสินค้าทางอากาศ  ยิ่งไปกว่านั้นการขนส่งสินค้าทางอากาศยังมีอัตราเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยที่ปริมาณสินค้าที่ขนส่งทางอากาศได้ขยายเกือบเท่าตัวในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา  แม้จะประสบกับภาวะตกต่ำในบางช่วงก็ตาม  แต่ธุรกิจการบินที่บริการขนส่งสินค้าทางอากาศสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขยายตัวของการขนส่งสินค้าทางอากาศที่สำคัญมี 6 ประการ คือ
             1.การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน  รวมถึงการพัฒนาทั้งทางด้านเกษตรเเละอุตสาหกรรมของโลกได้ก่อให้เกิดประเภทของสินค้าต่างๆ หลากหลายขึ้นมา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่มีมูลค่าสูง  แต่มีขนาด  ปริมาตร  และน้ำหนักไม่มาก  ซึ่งเป็นสินค้าที่จำเป็นต้องอาศัยระบบการขนส่งที่รวดเร็วปลอดภัย  เเละมีการดูแลสภาพของสินค้าอย่างดีที่สุด  เช่นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  อุปกรณ์ชิ้นส่วนยานยนต์  เครื่องมือเเละอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีมูลค่าสูง  อัญมณีเเละเครื่องประดับ
             2.การขยายตัวทางเศรษฐกิจโลก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตของประมาณการค้าของโลกเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปริมาณเเละประเภทของสินค้าที่ต้องอาศัยการขนส่งทางอากาศเพิ่มขึ้น  ยิ่งไปกว่านั้นการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก (World Trade Organixation - WTO)
            3.ธุรกิจเเบบครบวงจร  เป็นธุรกิจที่ต้องการด้านการขนส่งที่เชื่อถือเเละวางใจได้  เพื่อนำสิ่งต่างๆ ที่กิจการต้องการมาให้ในสภาพที่ดีเเละตามกำหนดเวลา  เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเก็บเเละบำรุงรักษา  การขนส่งสินค้าทางอากาศจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมของธุรกิจนี้
           4.แนวทางการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่เรียกว่า Just-in-Time Concept  แนวทางดังกล่าวมุ่งเน้นการบริหารสินค้าคงเหลือเเละปริมาณสต็อกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  เพื่อเป็นการลดต้นทุนการดำเนินงานภายใต้วิธีการบริหารจัดการแบบ Just-in-Time Concept  นี้ผู้ประกอบการในธุรกิจระหว่างประเภทจะมีสต็อกสินค้าในปริมาณต่ำที่สุดหรือเฉพาะในปริมาณเท่าที่จำเป็นเท่านั้น  แต่แนวทางการบริหารดังกล่าวจะประสบผลได้  ก็จะต้องอาศัยระบบการจัดส่งสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้ขายเเละสู่ตลาดที่มีความรวดเร็วตรงเวลา  ถูกต้องเเละเเม่นยำ
          5.การผ่อนปรนกฎเเละข้อบังคับของประเทศต่างๆ  ทำให้ธุรกิจการบินสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น
          6.นโยบายเปิดเสรีทางการบินพาณิชย์  ทำให้ธุรกิจการบินต่างๆ  ทั้งขนส่งผู้โดยสารเเละขนส่งสินค้า  สามารถขยายบริการไปยังน่านฟ้าประเภทต่างๆ ได้เสรีมากขึ้น  ธุรกิจการบินจึงหันมาเพิ่มบทบาทในบริการขนส่งสินค้าทางอากาศกันมากขึ้น  โดยการจัดตั้งธุรกิจการบินรับส่งสินค้าขึ้นมาโดยเฉพาะ
         7.การผลิตเครื่องบินรุ่นใหม่  จะเป็นเครื่องบินที่ได้พัฒนาเเละปรับปรุงให้มีสมรรรถนะเเละประสิทธิภาพสูง  สามารถบรรทุกน้ำหนักได้มากขึ้น  เเละบินได้ระยะทางที่ไกล  ทำให้การส่งสินค้าทางอากาศขยายตัวได้มากขึ้น
        8.ท่าอากาศยาน  ระบบพื้นฐานของท่าอากาศยานในปัจจุบันเเละที่สร้างหรือปรับปรุงใหม่ล้วนเอื้ออำนวยต่อการขนส่งสินค้าทางอากาศเป็นอย่างมาก  เพราะสามารถเชื่อมโยงระบบขนส่งทั้งทางรถไฟ รถยนต์  เรือ  เเละเครื่องบินเข้าด้วยกัน  อีกทั้งยังมีระบบสื่อสารที่ทันสมัยไว้บริการ
        9.น้ำมันเชื้อเพลิง  เป็นปัจจัยสำคัญที่ดำเนินการเเละกำหนดราคาค่าขนส่งถ้าหากปราศจากน้ำมันเชื้อเพลิง  ก็ไม่สามารถดำเนินงานขนส่งสินค้าทางอากาศได้

ระยะเวลาในการขนส่ง
1.    แบบเร่งด่วนพิเศษ1-2วัน
2.    แบบรวดเร็ว 3-5วัน
3.    แบบธรรมดา
อ้างอิง http://www.marut.th.com/pr/mshow_index.php3?id=34


การขนส่งทางเรือด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์



ในปัจจุบัน การขนส่งสินค้าส่วนใหญ่จะใช้การขนส่งทางทะเล ด้วยเรือประเภท Container Ship จึง ควรเข้าใจถึงลักษณะและประเภทของ Container ซึ่งจะเป็น Durable Packing เป็นลักษณะตู้ทำด้วยเหล็ก หรืออลูมิเนียม มีขนาดมาตรฐาน 20 ฟุต และ 40 ฟุต
การขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ การขนส่งทางทะเล จัดเป็นการขนส่งที่มีความสำคัญที่สุดและใช้มากที่สุด เมื่อเทียบกับรูปแบบการ ขนส่งอื่น ๆ เนื่องจากมีต้นทุนการขนส่งที่ต่ำและสามารถขนส่งสินค้าได้คราวละมาก ๆ โดยรูปแบบการขนส่ง ทางทะเลในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ (Container Box) โดยสินค้าที่จะขนส่ง จะต้องมีการน ามาบรรจุตู้ (Stuffing) และมีการขนย้ายตู้ขึ้นไว้ บนเรือ Container Ship ซึ่งออกแบบมาเป็น พิเศษ สำหรับใช้ในการขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ ทั้งนี้ ท่าเรือที่จะมารองรับเรือประเภทนี้จะต้องมีการออกแบบ ที่เรียกว่า Terminal Design เพื่อให้มี ความเหมาะสม ทั้งในเชิงวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม โดยจะต้องประกอบด้วย ท่าเทียบเรือ เขื่อนกั้นคลื่น รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ซึ่งผู้ที่ศึกษา ในด้าน Logistics จะต้องให้ความสนใจในการที่จะศึกษาเกี่ยวกับการขนส่งด้วยระบบคอนเทนเนอร์ให้เข้าใจ อย่างลึกซึ้ง คุณลักษณะของตู้คอนเทนเนอร์ (Container Box) ตู้คอนเทนเนอร์จะเป็นตู้ขนาดมาตรฐาน อาจทำด้วยเหล็กหรืออลูมิเนียม มีโครงสร้างภายนอกที่ แข็งแรงสามารถวางเรียงซ้อนกันได้ไม่น้อยกว่า 10 ชั้น โดยจะมียึด หรือ Slot เพื่อให้แต่ละตู้จะมีการยึดติดกัน ทั้งนี้ โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีประตู 2 บาน ซึ่งจะมีรายละเอียด ระบุหมายเลขตู้ (Container Number) น้ำหนักของสินค้าบรรจุสูงสุด ฯลฯ เมื่อปิดตู้แล้วจะมีที่ล็อกตู้ ซึ่งใช้ในการคล้องซีล (Seal) ซึ่งเดิมนั้นเป็นตะกั่ว
แต่ปัจจุบันจะเป็น Plastic มีหมายเลขกำกับ สำหรับใช้ในการบ่งชี้สถานะภาพ ซึ่งได้มีการพัฒนาไปถึง Electronic Seal ซึ่งสามารถเข้าไปตรวจสอบทางอิเล็กทรอนิคส์ (Electronic Tracking) หาตำแหน่งของการ เคลื่อนย้ายตู้สินค้า และภายในตู้คอนเทนเนอร์ จะมีพื้นที่สำหรับใช้ในการวาง และบรรจุสินค้า

ประเภทของตู้สินค้า อาจแบ่งได้เป็น
1.Dry Cargoes เป็นตู้ที่ใส่สินค้าทั่วไป ที่มีการบรรจุหีบห่อหรือภาชนะ ต้องเป็นสินค้าที่ไม่ต้องการ รักษาอุณหภูมิ โดยสินค้าที่เข้าตู้แล้ว จะต้องมีการจัดทำที่กั้นไม่ให้มีสินค้าเลื่อนหรือขยับ ซึ่งอาจจะใช้ถุง กระดาษที่มีการเป่าลม ที่เรียกว่า Balloon Bags มาวางอัดไว้ในช่องว่างของสินค้ากับตัวตู้ หรืออาจใช้ไม้มาปิด กั้นเป็นผนังหน้าตู้ ที่เรียกว่า Wooden Partition และหากใช้เป็นเชือกไนลอนรัดหน้าตู้ ก็จะเรียกว่า Lashing
2.Refrigerator Cargoes เป็นตู้สินค้าประเภทที่มีเครื่องปรับอากาศ มีการปรับอุณหภูมิในตู้ ซึ่งทำตามมาตรฐาน ต้องสามารถปรับอุณหภูมิได้อย่างน้อย –18 องศาเซลเซียส โดยเครื่องทำความเย็นนี้อาจจะติด อยู่กับตัวตู้หรือมีปลั๊กใช้กระแสไฟฟ้าเสียบจากนอกตู้ โดยจะต้องมีที่วัดอุณหภูมิแสดงให้เห็นสถานะของ อุณหภูมิของตู้สินค้า
3.Garment Container เป็นตู้สินค้าที่ออกแบบสำหรับใช้ในการบรรจุสินค้าที่เป็นเสื้อผ้า โดยมีราว สำหรับแขวนเสื้อ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะใช้กับสินค้าที่เป็น Fashion ซึ่งไม่ต้องการที่จะมีการพับ หรือบรรจุใน Packing ที่จะมีผลทำให้เสื้อผ้ามีการยับหรือไม่สวยงาม
4.Open Top เป็นตู้ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องเป็น 40 ฟุต โดยจะออกแบบมาไม่ให้มีหลังคา สำหรับใช้ใน การวางสินค้าขนาดใหญ่ เช่น เครื่องจักร ซึ่งไม่สามารถขนย้ายผ่านประตูตู้ได้ จึงต้องขนย้ายโดยการยกส่วนบน ของตู้แทน
5.Flat-rack เป็นพื้นราบมีขนาดกว้างและยาว ตาม Size ของ Container มาตรฐาน โดยจะเป็นตู้ คล้ายกับ Container ที่มีแต่พื้น Platform สำหรับใส่สินค้าที่มีลักษณะเป็นพิเศษ เช่น เครื่องจักร , แท่งหิน , ประติมากรรม , รถแทรกเตอร์ ซึ่งสินค้าเหล่านี้ อาจจะขนส่งด้วยเรือที่เป็น Conventional Ship แต่หากเมื่อขนส่งด้วยเรือระบบ Container แล้ว ก็จะต้องมาวางใน Flat rack เพื่อให้สามารถจัดเรียงกองในรูปแบบที่เป็น Slot ซึ่งเป็นลักษณะของเรือที่เป็น Container


เรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ (Container Vessel)
เรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ เป็นเรือที่ออกแบบมาสำหรับใช้ในการบรรทุกตู้สินค้าโดยเฉพาะ เรือสินค้า แต่ละลำ จะมีที่ยกตู้ที่เรียกว่า Quay Cranes ประมาณ 1-4 ตัว โดย Crane แต่ละตัวจะลำเลียงตู้ ที่วางอยู่ ตามความลึกของเรือ ซึ่งจะมีการเรียงกันเป็น Column ในปัจจุบันเรือบรรทุกโดยเฉลี่ยจะเป็นประมาณ 2,700 TEU แต่เรือที่มีขนาดใหญ่ที่อยู่ในชั้นที่เรียกว่า SX Class หรือที่เรียกว่า Super Post Panamaxx จะมีความยาวโดยเฉลี่ย 320x330 เมตร กินน้ำลึก ประมาณ 13-14 เมตร มีความกว้างวางคอนเทนเนอร์ได้ 20-22 แถว ซึ่งสามารถบรรทุกตู้สินค้าได้สูงสุดถึง 8,000 TEU ทั้งนี้ ในอนาคตกำลังมีการต่อเรือที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไป ในชั้น Malaccamax ซึ่งจะสามารถขนย้ายตู้ คอนเทนเนอร์ได้ 18,000 TEU โดยขนาดเรือที่ใหญ่ขึ้นมากนี้จะมีผลทำให้ต้นทุนโดยรวมจะลดลง เนื่องจากลด ต้นทุนแปรผัน ที่เรียกว่า Variable Cost ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำมัน หรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับแรงงาน อย่างไรก็ดี จะต้องมีการบริหารการจัดการ ในการที่จะหาสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

วิธีการขนย้ายคอนเทนเนอร์ในท่าเรือชนิดหรือขนาดของตู้คอนเทนเนอร์
การขนย้ายสินค้าในท่าเรือจัดเป็นเทคโนโลยีที่ต้องการการบริหารจัดการ เนื่องจากแต่ละท่าจะ แข่งขันกันเป็นนาทีในการยกสินค้าขึ้นและลง ทั้งนี้ ในปัจจุบันระบบการจัดการท่าเรือ ที่เรียกว่า Port Automation จะทำหน้าที่ในการจัดการ ท่าเรือ ในระบบที่ใช้ Computer และหุ่นยนต์ในการขนย้ายคอนเทนเนอร์หน้าท่า การขนย้ายสินค้าในท่าเรือ มีกระบวนการดังต่อไปนี้
 1.Stacking Lanes เป็นการจัดย้ายสินค้าไปวางเรียงกอง ซึ่งจะมีการวางเป็นชั้น ที่เรียกว่า Stack ซึ่ง โดยปกติจะมีการวางเรียงคอนเทนเนอร์ไว้ 4-5 ชั้น โดยมีความกว้างของช่องทาง ที่เรียกว่า Gantry Crane เป็นเครื่องมือในการขนย้าย ซึ่งปัจจุบันในหลายท่าได้นำระบบ Computer Right เข้ามากำหนด Location ใน การวางตู้ โดยมีหอ Control Room ใช้ในการควบคุมการทำงาน
2.การเคลื่อนย้ายคอนเทนเนอร์ไปไว้หน้าท่า ซึ่งอาจจะใช้ตัว Gantry Crane หรืออาจอาศัยรถยกที่ เรียกว่า Top ทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้าย 3.การ Slot Stacking เป็นการยกตู้สินค้าที่วางอยู่บริเวณหน้าท่า Quay ขึ้นไปวางไว้บนเรือ โดยมี Quay Crane คือ Crane ที่อยู่หน้าท่าทำหน้าที่ในการขนย้าย ส าหรับ ประเทศไทยมีท่าเรือหลักที่สำคัญ คือท่าเรือกรุงเทพฯ จะมีตู้เข้า-ออกประมาณเกือบ 1 ล้าน ตู้ต่อปี และท่าเรือแหลมฉบัง จะมีตู้เข้าและออกประมาณ 2.9-3.0 ล้าน TEU
นอกจากนี้ยังมี ท่าเรือมาบตาพุด , ท่าเรือน้ำลึกสงขลา , ท่าเรือสตูล ซึ่งประเทศไทยเอง ก็คงจะต้อง แข่งขันกับหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์หรือ ฮ่องกง ซึ่งจะมีตู้เข้า-ออก ปีละประมาณ 17.04 ล้าน TEU

 ชนิดหรือขนาดของตู้คอนเทนเนอร์
การขนส่งสินค้าด้วยContainer Vessel นั้น สินค้าจะต้องบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ หากผู้ขายเป็นผู้ บรรจุ ก็จะเรียกว่า Term CY คือ Consignee Load and Count หากบริษัทเรือเป็นผู้บรรจุตู้สินค้าในท่าเรือ หรือใน ICD (Inland Container Depot) ซึ่งตัวแทนบริษัทเรือเป็นเจ้าของสถานที่ ก็จะเรียกลักษณะการขนส่ง แบบนี้ว่า CFS (Container Freight Station) โดยสินค้าที่จะเป็น Term CY ได้นั้น จะต้องเป็นสินค้าประเภทเต็มตู้ที่เรียกว่า FCL (Full Container Load) ส่วนใน Term CFS ก็สามารถเป็นได้ทั้งที่เป็น FCL และ การบรรจุแบบรวมตู้(Consolidated) คือ สินค้าน้อยกว่า 1 ตู้ ซึ่งเรียกว่า LCL (Less Container Load) สำหรับ Containers ที่ใช้ในการบรรจุนี้ส่วนใหญ่ จะมีขนาดดังนี้
1.ขนาด 20 ฟุต เป็นตู้ที่มี Outside Dimension คือ ยาว 19.10 ฟุต และกว้าง 8.0 ฟุต สูง 8.6 ฟุต โดยมีน้ำหนักบรรจุตู้ได้สูงสุดประมาณ 32-33.5 CUM (คิวบิกเมตร) และน้ำ หนักบรรจุตู้ได้ไม่เกิน 21.7 ตัน
2.ตู้ขนาด 40 ฟุต จะมีความยาว 40 ฟุต กว้าง 8 ฟุต สูง 9.6 ฟุต (Hicute) โดยสามารถบรรจุสินค้าได้ 76.40 – 76.88 CUM และบรรจุสินค้าน้ำหนักสูงสุดได้ 27.4 M/T ซึ่งจะเป็นน้ำหนักสำหรับสินค้าประเภท Dry Cargoes สำหรับ การขนส่งสินค้าด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ได้รับการยอมรับว่า เป็นรูปแบบการขนส่ง มาตรฐาน โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณถึง 95 % ของการขนส่งสินค้าทางทะเล
 ทั้งนี้ ผู้ประกอบการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ จะมีเพียงไม่มากราย เมื่อเทียบกับปริมาณของ การขนส่ง โดยผู้ให้บริการสายการเดินเรือ ซึ่งเรียกว่า Carrier จะมีการรวมตัวกันเป็นชมรม (Conference) ซึ่ง จะมีบทบาทต่อการกำหนดค่าขนส่งสินค้า และค่าบริการในอัตราที่บางครั้งมีลักษณะกึ่งผูกขาด

 ชมรมสายการเดินเรือที่สำคัญของโลก อาจประกอบด้วย
1.Far Eastern Freight Conference (FEFC) จะเป็นบริการรับขนสินค้าจากเอเซียไปยุโรป โดยเน้น ที่สินค้าที่ไปทางทะเล เมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งจัดได้ว่า เป็นอาณาบริเวณซึ่งมีการขยายตัวประมาณ 24 % และ สินค้าที่ไปทางรัสเซียด้านตะวันออก St.Petersburg
 2.Asia / West Coast South America จะเป็นการเดินเรือในด้านตะวันตกของเอเซีย จนไปถึงทวีป อเมริกาใต้
 3.Informal Rate Agreement (IRA) ชมรมนี้จะครอบคลุมธุรกิจจากเอเชียไกล ไปถึงเอเชียภาค ตะวันออกกลาง ครอบคลุมไปถึงเกาหลี , จีน , ฮ่องกง , ใต้หวัน , เวียดนาม , ไทย , ฟิลิปปินส์ , มาเลเซีย , สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย
4.Trans Pacific ครอบคลุมอาณาบริเวณริมมหาสมุทรแปซิฟิก ออสเตรเลีย , นิวซีแลนด์ ,อเมริกา West Coast

 วิธีการคิดค่าระวางเรือ หรือ ค่า Freight
เนื่องจากในปัจจุบัน การขนส่งสินค้าส่วนใหญ่จะใช้การขนส่งทางทะเลด้วยเรือประเภท Container Ship จึงควรเข้าใจถึงลักษณะและประเภทของ Container ซึ่งจะเป็น Durable Packing เป็นลักษณะตู้ทำด้วยเหล็กหรืออลูมิเนียม มีขนาดมาตรฐาน 20 ฟุต และ 40 ฟุต ทั้งนี้ บริษัทเรือจะต้องเป็นผู้เตรียมตู้ Container โดยผู้ที่จะใช้ตู้จะต้องทำการจองตู้ โดย เอกสารที่เรียกว่า Shipping Particular หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า ใบ Booking ซึ่งรายละเอียด จะต้องคล้องจองกับ Letter of Credit (L/C) สำหรับ เอกสารที่ใช้ในการเป็นใบรับสินค้าของตัวแทนบริษัทเรือ จะเรียกว่า Bill of Lading (B/L) หรือใบตราส่ง ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญในการเป็นเอกสาร ในการเรียกเก็บเงินจากทาง ธนาคาร ที่เรียกว่า Bank Negotiated Process ในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศคู่ค้า จะต้อง มีการตกลงว่า ผู้ซื้อหรือผู้ขายสินค้า จะเป็นคนจ่ายค่าระวางเรือ ที่เรียกว่า Freight Charge หาก ผู้ขายสินค้าเป็นผู้ชำระ เรียกว่า Freight Prepaid แต่หากให้ผู้ซื้อเป็นผู้ชำระค่าระวางเรือเมื่อถึง ปลายทาง จะเรียกว่า Freight Correct การคิดค่าระวางเรือ (Freight Charge Basic)
1.Weight Ton คำนวณจากน้ำหนักสินค้าที่บรรทุก และจะมีอัตราการคิดที่แตกต่างกัน ตามแต่ละประเภทของสินค้า
 2.คำนวณจาก Measurement โดยคำนวณจากปริมาตรของสินค้า คือ เป็นการวัดขนาด ของสินค้า กว้าง x ยาว x สูง คำนวณออกมาเป็น ลูกบาศก์เมตร (M3 หรือ CBM) มักจะใช้กับ สินค้าที่มีลักษณะ Bulk คือ มีลักษณะเป็น Size Insentive เช่น เสื้อผ้า , ฝ้าย แต่ทั้งนี้จะต้องมี การชั่งน้ำหนัก โดยเปรียบเทียบว่า ถ้าน้ำหนัก (Weight Ton) สูงกว่า ก็จะคิดค่าระวางจากน้ำหนัก
3.การคำนวณจาก V (Ad Valorem Goods) คือ Degree ที่สินค้ามีราคาสูง ถึงแม้ว่าจะมี ปริมาตรน้อย น้ำหนักไม่มาก แต่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ การคิดค่าระวางก็จะคิดเพิ่มอีก 3-5 เท่า ของมูลค่าสินค้า 4.ค่าระวางพิเศษ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายทั้งหลายที่บริษัทเรือ คิดเพิ่มเติมจากค่าระวางพื้นฐาน ซึ่ง ประกอบด้วย
(1) ค่าระวาง Surcharge เป็นค่าใช้จ่ายพิเศษที่มีการเรียกเก็บ เนื่องในกรณีต่าง ๆ เช่น ภัย สงคราม หรือในช่วงที่มีการ Peak Season
(2) Terminal Handling Charge : THC เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการขนถ่ายสินค้า ทั้งต้น ทางและปลายทาง ได้แก่ การใช้เครนที่เรียกว่า Top คือ ค่าภาระ , ค่าลากตู้สินค้า
 (3) Bunker Adjustment Factor : BAF เป็นค่าระวางพิเศษ ชดเชยภาระค่าน้ำมัน เชื้อเพลิง ที่มีการปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเกิดวิกฤติการณ์ด้านน้ำมัน ที่ทำให้บริษัทเรือมีต้นทุนที่ สูงขึ้นกว่าต้นทุนปกติ โดยจะมีการเรียกเก็บค่า BAF หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่า Bunker Charge ซึ่ง อาจจะขึ้นและลงได้ เป็นไปตามดุลยภาพของ Demand & Supply (4) Currency Adjustment Factor : CAF เป็นค่าปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา โดยค่า ระวางเรือส่วนมาก จะเรียกเก็บเป็นเงินสกุลดอลล่าห์สหรัฐฯ หากกรณีอัตราแลกเปลี่ยนมีการ ผกผัน ทางบริษัทเรือก็จะมีการเรียกเก็บ
 (5) Congestion Surcharge เป็นค่าใช้จ่ายพิเศษ เนื่องจากความแออัดในท่าเรือ เป็น ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บเนื่องจากบางท่าเรือ อาจมีการบริหารจัดการไม่ดี ทำให้มีการขนย้ายตู้ขึ้นและ ลง ล่าช้ากว่าเกณฑ์ที่ทางบริษัทเรือกำหนดไว้ ซึ่งอาจจะเกิดจากเหตุอื่น เช่น การจราจรที่ติดขัด การนัดหยุดงานของคนงาน ซึ่งมีผลทำให้งานล่าช้า
(6) Bill of Lading Charge : B/L Charge ค่าออกใบตราส่ง เป็นค่าธรรมเนียมในการที่ บริษัทเรือต้องจัดพิมพ์ใบ Bill of Lading ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการแสดงสถานะภาพ (Status) ว่า สินค้าได้มีการขนส่งไปกับบริษัทเรือ ซึ่ง B/L หรือที่เรียกว่า ใบตราส่งจะมีออกเป็น หลายฉบับ เช่น ฉบับที่เรียกว่า Original , Duplicate Original , Triple Original และ Copy Non-Negotiate ทั้งหมดนี้ทางบริษัทเรือจะเรียกเก็บเป็นค่าใช้จ่ายในการทำเอกสาร
(7) AMSC : Advance Manifest Security Charge เป็นค่าใช้จ่ายในการที่บริษัทเรือต้อง Input Data 24 ชั่วโมงก่อนการขนถ่ายสินค้า ที่เรียกว่า 24 Hour Rules ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ มาตรการความร่วมมือ การป้องกันผู้ก่อการร้ายที่เรียกว่า C-TPAT (Customs Trade Partnerships
(8) Against Terrorism) ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลำดับสุดท้ายของ Top Twenty Mega Port ในการขนส่งสินค้า จึงต้องเสียค่า AMSC Charge รวมถึงการแก้ไขเอกสาร ISPS Code (International Ship and Port Facility Security Code) เป็นประมวลข้อบังคับว่าด้วยการ รักษาความปลอดภัยของเรือ และท่าเรือระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นข้อแก้ไขใหม่ภายใต้อนุสัญญา
SOLAS Chapter XI-2 เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติในการรักษาความ ปลอดภัยทางทะเล โดยมุ่งที่การรักษาความปลอดภัยของเรือ และท่าเรือ โดยกำหนดให้มีการ ประเมินสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงในระดับต่าง ๆ และกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ เหมาะกับระดับความเสี่ยง ประกอบด้วย
1) เรือ (Vessel) กำหนดให้บริษัทเรือต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (Company Security Officer : CSO) เพื่อรับผิดชอบในการจัดทำการประเมินสถานการณ์ความ ปลอดภัยของเรือ (Ship Security Assessment) และแผนรักษาความปลอดภัยของเรือ ซึ่งจะต้อง ได้รับอนุมัติจากกรมการขนส่งทางน้ำและพานิชยนาวี
2) ท่าเรือ (Port) กำหนดให้ต้องมีการประเมินสถานการณ์ความเสี่ยง ต่อความปลอดภัย ของท่าเรือ โดยต้องมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของท่าเรือ เพื่อรับผิดชอบในการจัดทำ และ ดำเนินตามแผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ ซึ่งต้องได้รับการอนุมัติจากกรมการขนส่งทางน้ำ และพานิชยนาวี โดยท่าเรือทุกแห่งที่ให้บริการเรือโดยสาร เรือบรรทุกสินค้า ต้องจดทะเบียนใน ประเทศ
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจะต้องจัดทำขั้นตอน การปฏิบัติงานและแผนความปลอดภัย เพื่อ สนองต่อหน่วยงานราชการของไทย คือ กรมการขนส่งทางน้ำ และพานิชยนาวี เพื่อทำการ ประเมินและออกใบรับรอง อ้างอิง http://www.marinerthai.net/sara/viewsara1006.php











วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558


การขนส่งโดยรถไฟ

เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถ เคลื่อนย้ายสิ่งของและบุคคลไปได้ ไกลด้วยต้นทุน การขนส่งต่ำและมีความปลอดภัยจากอุบัติ  เหตุสูง กว่าการขนส่งประเภทอื่นเพราะเครื่องที่ อยู่ใน เส้นทาง(ราง) ที่ สร้างขึ้นโดยเฉพาะนั่นเองลักษณะ เด่นของการขนส่งทางรถไฟ คือ การที่ ขบวนรถไฟ แต่ละขบวนสามารถพ่วงตู้บรรทุกหรือผู้โดยสารได้ คราวละมากๆ จึงสามารถให้บริการโดยประหยัด เหมาะสมกั บสินค้านน้ำหนั กมาก ปริมาณมากเป็นต้น เช่น ปูนซีเมนต์ ถ่ านหิน น้ำมัน  ตู้คอนเทนเนอร์

     ในปัจจุบันนอกจากรถไฟที่มีอัตราความเร็วเพิ่มขึ้นกว่าเดิมแล้ว ความสะดวกสบายก็มีเพิ่มขึ้นกว่าเดิม เพราะในรถไฟมีห้องนอนปรับอากาศ ห้องอาหาร และรายการบันเทิงต่าง  ดังนั้น ผู้โดยสารที่ชื่นชอบกับ ธรรมชาติสองข้างทางรถไฟ ก็ยังนิยมการเดินทางประเภทดังกล่าว พร้อมกับการพัฒนาเส้นทางรถไฟที่ผ่านเข้า ไปยังพื้นที่สูงเช่น ประเทศจีนพัฒนาเส้นทางรถไฟไปสู่ทิเบตเรียกว่าเส้นทางสายชิงไห่-ทิเบต
ทั้งนี้เพราะการเดินทางโดยรถไฟ สะดวกสบาย เพลิดเพลิน ค่าโดยสารถูกกว่าเครื่องบิน และสามารถ เดินทางเข้าถึงย่านใจกลางเมืองได้ เนื่องจากสถานีรถไฟตั้งอยู่ในจุดใจกลางของแต่ละเมือง ดังนั้นการขนส่งทาง รถไฟ จึงเป็นสิ่งจ้าเป็นส้าหรับผู้โดยสารที่ต้องการราคาประหยัด การเดินทางในระยะสั้นและไม่มีความเร่งรีบใน เรื่องของเวลา ในส่วนของการขนส่งทางรถไฟ เป็นเส้นทางการล้าเลียงที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย ดำเนินงานโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นรัฐวิสาหกิจ เหมาะส้าหรับการขนส่งสินค้าหนัก  ปริมาณมากและใน ระยะทางไกล อัตราค่าบริการไม่แพง การขนส่งทางรถไฟจะมีกำหนดเวลาออกและถึงจุดหมายปลายทางใน ระยะเวลาแน่นอน และมีความปลอดภัยจากการเสียหายของสินค้า อนึ่ง 

ส่วนประกอบของการขนส่งทางรถไฟ คือ
1) ผู้ประกอบการ ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)
2) ขบวนการรถไฟ คือ อุปกรณ์ขนส่งทางรถไฟ ได้แก่ ขบวนรถไฟโดยสาร ใช้ขนส่งผู้โดยสาร ได้แก่ ขบวนรถด่วน รถเร็ว รถธรรมดา รถดีเซลราง และขบวนรถไฟสินค้า ใช้ขนส่งสินค้า มี 3 ประเภท คือ รถปิด คือ รถไฟที่ปิดทุกด้าน เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่เสียหายง่ายเมื่อถูกแดดถูกฝน , รถเปิด คือ รถไฟที่ไม่มี หลังคา เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่ไม่เสียหายเมื่อถูกแดด ถูกฝน และ รถเฉพาะกิจ คือ รถไฟที่ออกแบบ สำหรับใช้เฉพาะงาน เช่น รถบรรทุกน้ำมัน รถบรรทุกปูนซีเมนต์ รถบรรทุกน้้ามัน เป็นต้น
 ข้อดีและข้อเสียการขนส่งโดยรถไฟ
ข้อดี
 1.ประหยัด ขนส่งสินค้าได้จ้านวนมากหลายชนิด
 2.รวดเร็ว สามารถขนส่งสินค้าได้ทันตามก้าหนดเวลาที่ต้องการ
3.สะดวก เพราะมีตู้หลายชนิดให้เลือกเพื่อความเหมาะสมกับสินค้า
4.ปลอดภัยสูง เมื่อเทียบกับเส้นทางอื่น 5.ขนส่งได้ทุกสภาพดินฟ้าอากาศ
ข้อเสีย
1.ไม่สามารถขนส่งสินค้าให้ถึงที่ต้องการขนถ่ายได้
2.ความยืดหยุ่นมีน้อย เพราะมีเส้นทางตายตัว
3.มีความคล่องตัวน้อยกว่าการขนส่งแบบอื่น เพราะมีกฏระเบียบมาก
4.ไม่เหมาะสมกับผู้ส่งสินค้ารายย่อย ปริมาณน้อย