โลจิสติกส์ (Logistics)
ความหมายของโลจิสติกส์
โลจิสติกส์ หรือ ลอจิสติกส์ เป็นระบบการจัดการการส่งสินค้า ข้อมูล และทรัพยากรอย่างอื่นจากจุดต้นทางไปยังจุดบริโภคตามความต้องการของลูกค้า โลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับการผสมผสานของ ข้อมูล การขนส่ง การบริหารวัสดุคงคลัง การจัดการวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ โลจิสติกส์เป็นช่องทางหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานที่เพิ่มมูลค่าของการใช้ประโยชน์ของเวลาและสถานที่
“Logistics หมายถึง กิจกรรมหรือการกระทำใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการ รวมถึงการเคลื่อนย้าย , จัดเก็บ และกระจายสินค้า จากแหล่งที่ผลิต (Source of Origin) จนสินค้าได้มีการส่งมอบไปถึงแหล่งที่มีความต้องการ (Source of Consumption) โดยกิจกรรมดังกล่าว จะต้องมีลักษณะเป็นกระบวนการแบบ บูรณาการ โดยเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีเป้าหมายในการส่งมอบแบบทันเวลา (Just in Time) และเพื่อลดต้นทุน โดยมุ่งให้เกิดความพอใจแก่ลูกค้า (Customers Satisfaction) และส่งเสริมเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการ ทั้งนี้ กระบวนการต่างๆของระบบ Logistics จะต้องมีลักษณะปฏิสัมพันธ์ที่สอดคล้องประสานกัน ในอันที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน” (ที่มา : คำนิยามของ Logistics ตาม Council
of Logistics Management (CLM) ในปี ค.ศ. 1998)
เป้าหมายของการจัดการโลจิสติกส์
1)
ความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้า (Speed Delivery)
2)
การไหลลื่นของสินค้า(Physical Flow)
3)
การไหลลื่นของข้อมูลข่าวสาร (Information Flow)
4)การสร้างมูลค่าเพิ่ม(Value Added)ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของตลาด(Market
Demand)
5)
ลดต้นทนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการ
เกี่ยวกับสินค้าและการดูแลและขนส่งสินค้า
(Cargoes
Handling & Carriage Cost)
6)
เพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของการแข่งขัน(Core Competitiveness)
การบริหารการขนส่ง(TransportationManagement)
การบริหารการขนส่ง
หมายรวมถึง
การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบหรือสินค้าตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปยังจุดที่มีการบริโภค
หรือการส่งคืนสินค้าผิดปกติกลับมายังคลังสินค้า
รวมถึงการขนย้ายสินค้าเพื่อนำไปยังจุดที่จะทำลาย ทำให้องค์กรต้องคำนึงถึงรูปแบบลักษณะการเลือกเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้น
เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับ
ลูกค้า
ซึ่งกิจกรรมนี้ครอบคลุมตั้งแต่การนำส่งสินค้าที่ถูกต้อง ถูกจำนวน ถูกสถานที่ถูกเวลาตรง
ตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ทั้งนี้ประสิทธิภาพในการให้บริการจะมาก
หรือน้อยนั้น
ต้องขึ้นอยู่กับกิจกรรมทางด้านโลจิสติกส์อื่นประกอบด้วย เช่น
กิจกรรมการขนส่งที่ช้าส่งผลให้ระดับความพึงพอใจของลูกค้าลดลง
การขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก
การขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก การขนส่งสมัยใหม่ด้วยเครื่องจักรกลเกิดขึ้นภายหลังจากการน้าเครื่องจักร
ไอน้ำมาใช้ เครื่องจักรไอน้ำ น้ามาใช้เป็นต้นกำลังของเรือและรถไฟ โดยใช้ถ่านหินและฟืนเป็นเชื้อเพลิง ต่อมามีการพัฒนาเครื่องยนต์ สันดาปภายใน และน้ามาใช้กับรถยนต์ เครื่องยนต์สันดาปภายใน มีความสะดวกและเครื่องยนต์มีขนาดเล็ก จึง มีการน้าไปใช้กับเรือและรถไฟ การใช้เครื่องจักรไอน้ำขับเคลื่อนยานพาหนะจึงค่อย ๆ หมดไป วิวัฒนาการการใช้เครื่องยนต์สันดาป ภายใน เป็นไปตามความต้องการขนส่ง ผู้ใช้บริการขนส่งมีความต้องการการขนส่งที่รวดเร็วและขนส่งครั้งละ ปริมาณมาก ยานพาหนะขนส่งจึงต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ปัจจุบันเครื่องบินมีขนาดใหญ่สามารถขนผู้โดยสารได้ 500-600 คน เรือบรรทุกสินค้าได้กว่า 300,000 ตันรถไฟบรรทุกสินค้าได้หลายพันตัน และรถยนต์ทั้งรถบรรทุกและรถโดยสารขนผู้โดยสารและสินค้าได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยานพาหนะจะมีขนาดใหญ่บรรทุกคนและสินค้าได้มากแล้ว ยังมีความรวดเร็วและเชื่อถือ ได้อีกด้วย
อุตสาหกรรมขนส่งด้วยรถยนต์ (motor carrier )
มีความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รถยนต์มีความได้เปรียบในการเข้าถึงชุมชนและพื้นที่ ได้ดีกว่ารูปแบบการขนส่งอื่น ขนาดการบรรทุกของ รถยนต์มีปริมาณไม่มาก ท้าให้ได้เปรียบทางเศรษฐกิจในการให้บริการระยะทางสั้น ขณะที่เรือและรถไฟมีความได้เปรียบด้านต้นทุน เมื่อขนส่งในระยะทางไกลและขนปริมาณมาก ข้อจ้ากัดการให้บริการของเรือคือ ต้องอาศัยแม่นยำหรือชายฝั่งทะเล และต้องมีความลึกพอที่เรือจะเดินได้ ซึ่ง แต่ละประเทศก็มีความแม่นยำที่สามารถเดินเรือได้จ้ากัด ดังนั้น พื้นที่ที่ไม่มีน้ำ เรือก็เดินไม่ได้ จึงไม่สามารถ ให้บริการ ขณะที่รถไฟเดินไปตามราง เครือข่ายรถไฟมีจ้ากัด รถไฟจึงให้บริการได้เฉพาะในเส้นทางที่มีราง เท่านั้น
การขนส่งด้วยรถยนต์ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รถยนต์มีการพัฒนาด้าน เทคโนโลยีเครื่องยนต์อย่างต่อเนื่อง เครื่องยนต์มีกำลังมากขึ้นท้าให้บรรทุกได้มาก และมีความเร็วขึ้น รวมทั้ง เครื่องยนต์และอุปกรณ์ มีความเชื่อถือได้อีกด้วย ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการขนส่งด้วยรถยนต์ คือเครือข่ายถนน ประเทศต่าง ๆ ลงทุนสร้าง เครือข่ายถนนมากขึ้น และมีการปรับปรุงถนนตลอดเวลา การลงทุนสร้างถนนของรัฐ ท้าให้รถยนต์เข้าถึง พื้นที่ได้กว้างขวาง การขนส่งสินค้าและผู้โดยสารด้วยรถยนต์จึงมีอัตราเติบโตสูง
ข้อได้เปรียบและเสียเปรียบรถบรรทุก : Advantages and Disadvantages of
Motor Carrier
ข้อได้เปรียบรถบรรทุก : Advantages of Carriers
รถบรรทุกมีข้อได้เปรียบ ดังนี้
1.รวดเร็ว : Speed รถบรรทุกจัดเป็นบริการขนส่งที่รวดเร็ว ความรวดเร็วอยู่ที่ยานพาหนะที่สามารถ เดินทางด้วยความเร็วสูง รถบรรทุกขนสินค้าไม่ได้มาก ดังนั้น จึงใช้เวลาน้อยในการรวบรวมสินค้า ให้เต็มคันรถ ( full truck load : FTL) รวมทั้งการขนถ่าย สินค้าขึ้นรถและออกจากรถใช้เวลาน้อย ความรวดเร็วการขนส่งช่วยลดวงจรเวลาสั่งซื้อ (Oder cycle time) ทำให้ลดสินค้าคงคลัง และลดความสูญเสียที่ เกิดจากวัสดุเสื่อมสภาพรวมถึงสินค้าหมดสมัยอีกด้วย
2.เป็นบริการขนส่งจากที่ถึงที่ : Door-to–Door Service รถบรรทุกสามารถเดินทางไปตามถนนใหญ่ เรือเล็กหรือแม้แต่ไม่มีถนน หากไม่มีสิ่งกีดขวางหรือสิ่งที่เป็นอุปสรรคจนเกินขีดความสามารถของรถบรรทุก ดังนั้น รถบรรทุกจึงสามารถเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ เพื่อบรรทุกและขนถ่ายสินค้าได้ดีกว่ารูปแบบ การขนส่งอื่น บริการขนส่งแบบจากที่ถึงที่ หมายถึง การใช้ยานพาหนะคันเดียวกัน บรรทุกสินค้าจากต้นทางไปถึง ปลายทางโดยสินค้าไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายยานพาหนะ รถบรรทุกเมื่อบรรทุกสินค้าจากต้นทางจะเดินทางตรงไปยัง ปลายทาง โดยสินค้าไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายยานพาหนะ เช่นบรรทุกสินค้าจากโรงงานในกรุงเทพฯ ไปให้ลูกค้าที่เชียงใหม่ได้โดยตรง การขนส่งรูปแบบอื่น จะต้องมีการการขนถ่ายเปลี่ยนยานพาหนะ เช่น ขนส่งสินค้าจากโรงงานในกรุงเทพฯ ไปยังร้านค้าที่เชียงใหม่ ด้วยรถไฟ บริษัทต้องขนสินค้าจากโรงงานด้วยรถบรรทุกไปขึ้นรถไฟ เมื่อรถไฟถึงเชียงใหม่ก็จะต้องขนถ่าย สินค้าออก จากรถไฟไปขึ้นรถบรรทุกเพื่อไปยังปลายทางที่ต้องการ การจัดทำเนื้อหาองค์ความรู้ SMEs ภายใต้งานพัฒนาศูนย์ข้อมูล SMEs
Knowledge Center ปี 2557 2 ข้อได้เปรียบรถบรรทุกที่ให้บริการแบบจากที่ถึงที่ ทำให้ส่งมอบสินค้าได้รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายขนถ่าย ซ้ำซ้อน ลดความเสียหายและสูญหายสินค้าระหว่างขนถ่ายเปลี่ยนยานพาหนะอีกด้วย
3.เครือข่ายครอบคลุม : Extensive Road Network รัฐบาลลงทุนสร้างถนนเชื่อมโยงภูมิภาค จังหวัด อำเภอและหมู่บ้าน เครือข่ายถนนที่เชื่อมโยงกัน ทำให้รถบรรทุกสามารถเข้าถึงได้ทุกแห่ง ขณะที่รูปแบบการ ขนส่งอื่น มีเครือข่ายจำกัด จึงให้บริการจำกัดอยู่บางพื้นที่
4.การแข่งขันสูง : High Competition ตลาดรถบรรทุกมีการแข่งขันมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับนโยบาย ของแต่ละประเทศ ประเทศที่มีนโยบายให้ผู้ประกอบการมากราย และอนุญาตให้มีรถบรรทุกส่วนบุคคล การ แข่งขันจะมีมาก ประเทศที่มีการควบคุมจำนวนผู้ประกอบการ และหรือไม่อนุญาตให้มีรถบรรทุกส่วนบุคคล การ แข่งขันก็จะมีน้อย ปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่ มีนโยบายผ่อนคลายกฎระเบียบ (deregulation) การขนส่ง ท า ให้มีการแข่งขัน ซึ่งการแข่งขันมีผลต่ออัตราค่าขนส่งและคุณภาพบริการ
5.ความเสียหายน้อย : Low Damage การขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกมีความรวดเร็ว สินค้าอยู่บน ยานพาหนะระยะเวลาสั้น ประกอบกับถนนได้มาตรฐาน และยานพาหนะมีระบบกันสะเทือนดี จึงลดความ เสียหายสินค้า ผู้รับสินค้าได้รับสินค้าในสภาพสมบูรณ์ซึ่งช่วยลดสินค้าคงคลัง
6.บรรทุกสินค้าปริมาณไม่มาก : Small Carrying รถบรรทุกขนสินค้าได้น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับ รูปแบบการขนส่งอื่น ทำให้ใช้เวลาน้อยในการรวบรวมและส่งมอบสินค้า รวมทั้งขนถ่ายใช้เวลาน้อย สินค้าจึง ถึงผู้รับเร็ว ลดปริมาณสินค้าคงคลังของลูกค้า และเพิ่มระดับการบริการลูกค้า
7.สามารถสนองความต้องการของลูกค้า : Meeting Customer Requirements ผู้ประกอบการ ขนส่งด้วยรถบรรทุกมีจำนวนมาก และส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อย ทำให้สามารถดูแลลูกค้าแต่ละ รายได้มาก ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ยังคงให้บริการตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างมั่นคง และ ผู้ส่งของก็ยังคาดหวังจากผู้ประกอบการ ที่จะให้การตอบสนองความต้องการดียิ่งขึ้น
8.ทำให้การขนส่งสมบูรณ์ : Complete Transportation การขนส่งรูปแบบอื่น ไม่สามารถให้บริการ สมบูรณ์ เช่น รถไฟให้บริการขนส่งแบบสถานีถึงสถานี หรือเรือให้บริการขนส่งแบบจากท่าเรือถึงท่าเรือ รถบรรทุกเป็นตัวเชื่อมต่อกับรูปแบบการขนส่งอื่น และทำให้การขนส่งสมบูรณ์ จึงกล่าวได้ว่า รถบรรทุกเป็นตัว ประสานงานสากล (universal coordinators)
ข้อเสียเปรียบรถบรรทุก : Disadvantage of Motor Carrier
รถบรรทุกก็มีข้อเสียเปรียบ ดังนี้ 1.ค่าขนส่งแพง : High Cost รถบรรทุกมีต้นทุนสูง โดยเฉพาะต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น และค่าบำรุงรักษา ดังนั้น ค่าระวางรถบรรทุกจะสูงกว่าการขนส่งรูปแบบอื่น ยกเว้น ทางอากาศ แต่รถบรรทุก สามารถให้บริการแบบจากที่ถึงที่ จึงลดค่าใช้จ่ายการขนถ่ายซ้ำซ้อน และลดเวลาเดินทางของสินค้า ทำให้ลด ต้นทุนสินค้าคงคลัง ดังนั้น บริษัทจะต้องพิจารณาจุดแลกระหว่างได้กับเสีย (trade-offs) คือระหว่างค่าระวางสูงกับ ค่าใช้จ่ายสินค้าคงคลัง ที่ลดลงเพื่อใช้ตัดสินใจเลือกใช้รูปแบบการขนส่ง 2.บรรทุกสินค้าได้น้อย : Low Capacity ระวางรถบรรทุกจำกัดด้วยความยาวความสูง และน้ำหนัก บรรทุกตามกฎหมาย รถบรรทุกจึงบรรทุกสินค้าได้น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งด้วยรถไฟหรือเรือ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการพัฒนารถบรรทุกให้มีความสามารถ ในการบรรทุกได้มากขึ้น เช่น รถพ่วง 3.อ่อนไหวต่อสภาพอากาศ : Weather Sensitive ภูมิภาคที่มีหิมะตกปกคลุมถนน อาจทำให้ รถบรรทุกผ่านไม่ได้หรือต้องใช้ความรวดเร็วต่ำ หรือในภาวะมีภัยธรรมชาติทำให้ถนนถูกตัดขาดรถบรรทุกวิ่ง ผ่านไม่ได้มีผลให้การส่งมอบสินค้าล่าช้าได้
ข้อกำหนดรถบรรทุกและการขนสินค้า
ตามกฎหมายการขนส่ง กำหนดอุปกรณ์ขนส่งและน้ำหนักบรรทุก ดังนี้ ลักษณะรถ รถที่ใช้สำหรับการขนส่งสินค้าแบ่งเป็น 9 ลักษณะ ดังนี้
1) รถกระบะบรรทุก ครอบคลุมรถบรรทุกมีหรือไม่มีคอก หรือไม่มีอุปกรณ์ยกหรือเทของ มีหลังคา หรือไม่มี หลังคาก็ได้
2) รถตู้บรรทุกครอบคลุมถึงรถตู้ทึบมีบานประตูปิดเปิดประตูสำหรับถ่ายด้านข้างหรือดำท้ายก็ได้
3) รถบรรทุกของเหลว มีถังสำหรับบรรทุกของเหลว
4) รถบรรทุกวัสดุอันตราย ครอบคลุมน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซเหลว สารเคมี วัตถุระเริด และอื่น ๆ
5) รถบรรทุกเฉพาะกิจ ครอบคลุมรถบรรทุกเครื่องดื่ม ขยะมูลฝอย รถผสมซีเมนต์ และอื่น ๆ
6) รถพ่วง ครอบคลุมถึงรถพ่วงที่น้ำหนักรถรวมน้ำหนักรถบรรทุกทั้งหมด ลงบนเพลาล้อตัวเอง และต้องใช้รถอื่นลากจูง
7) รถกึ่งพ่วง ครอบคลุมรถพ่วงที่น้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกรางส่วน เฉลี่ยเพลาล้อของรถคันลาก จูง
8) รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว เป็นรถกึ่งพ่วงโครงโลหะ ที่สามารถปรับความยาวช่วงล้อระหว่างรถลากจูง
9) รถลากจูง เป็นรถสำหรับลากจูงรถพ่วง รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว เครื่องอุปกรณ์และส่วนควรรถ รถทั้ง 9 ลักษณะที่กล่าวมานก้น ต้องม ขนาดตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เกี่ยวกับความกว้าง ความสูง ความยาว ส่วนยื่นหน้าและส่วนยื่นท้าย ดังนี้
1) ความกว้าง ความกว้างของตัวถังรถส่วนประกอบข้างตัวถังที่ยื่นออกจากตัวรถ แต่ไม่รวมกระจกเงา สำหรับมองหลัง ด้านข้างต้องไม่เกิน 2.50 เมตร และตัวถังหรือส่วนประกอบของตัวถังจะยื่นเกินขอบยางด้าน นอกของเพลาท้ายได้ไม่เกิน 1.5 เซนติเมตร
2) ความสูง ความสูงที่สุดของรถเมื่อวัดจากพื้นราบต้องไม่เกิน 3.8 เมตร สำหรกรรถตู้บรรทุกที่มีความ กว้างไม่เกิน 2.3 เมตร ให้มีความสูงได้ไม่เกิน 3 เมตร
3) ความยาว ความยาวของรถบรรทุกตามลกกษณะ 1,2,3,4,5 และ 9 เมื่อวัดจากกันชนหน้าถึงส่วน สุดท้ายของรถต้องไม่เกิน 10 เมตร ความยาวของรถบรรทุกลักษณะ 6 ไม่เกิน 8 เมตร และรถบรรทุกลกกษณะ 7 และ 8 ยาวไม่เกิน 12.5 เมตร
4) ส่วนยื่นหน้ารถบรรทุกลักษณะ 1,2,3,4,5,6 และ 9 เมื่อวัดจากส่วนหน้าสุดของรถไม่รวมกัน ชนถึงศูนย์กลางเพลาล้อหน้าต้องไม่เกินกึ่งหนึ่งของช่วงล้อ รถบรรทุกลักษณะ 7 และ 8 เมื่อวัดจากส่วนหน้าสุด ของรถ ไม่รวมกันชนถึงศูนย์กลางสลกกพ่วงต้องไม่เกินกึ่งหนึ่งของช่วงล้อ
5) ส่วนยื่นท้าย รถบรรทุกลกกษณะ 1,2,3,4,5,6 และ 9 ส่วนยื่นท้ายของรถเมื่อวัดจากส่วนท้ายของ ตัวถัง ส่วนบรรทุกไม่รวมกันชนถึงศูนย์กลางเพลาล้อท้าย หรือศูนย์กลางระหว่างเพลาคู่ท้ายต้องม ความยาวไป เกินกึ่งหนึ่งของช่วงล้อ ยกเว้นรถบรรทุกตู้ทึบและรถที่มีทางขึ้นลง หรือติดตั้งอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าด้านท้าย ส่วนบรรทุกยื่นท้ายรถได้ไม่เกิน 2 ใน 3 ของช่วงล้อ สำหรับ รถบรรทุกลักษณะ 7 และ 8 ส่วนยื่นท้ายของรถ เมื่อวัดจากส่วนท้ายสุดของตัวถัง
ส่วนบรรทุกไม่รวมกันชนถึงศูนย์กลางระหว่างเพลาคู่ท้ายยื่นได้ไม่เกิน 2 ใน 5 ของช่วงล้อ
6) รถบรรทุกลักษณะ 5,6,7 และ 8 ที่เป็นรถบรรทุกเฉพาะกิจอาจม ความกว้าง ความสูง ความยาว ส่วนยื่นหน้าและยื่นท้าย เกินกว่าที่กำหนดได้ หากมีความจ้าเป็นตามลกกษณะการใช้งานเฉพาะกิจ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางรถ
7) พิกัดน้ำหนักของรถบรรทุกพิกัดน้ำหนักบรรทุกของรถขึ้นอยู่กับจำนวนเพลา
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการบรรทุก พระราชบัญญัติจราจรทางรก พ.ศ.2522 กำหนดการบรรทุก ดังนี้
1.ไม่เกินความกว้างของรถ
2.ด้านหน้ายื่นไม่เกินหน้าหม้อหรือกันชน ด้านหลกงยื่นพ้นจากตัวรถไม่เกิน 2.5 เมตร สำหรับรถพ่วงด้านหลังยื่นพ้นรถพ่วงไม่เกิน 2.5 เมตร
3.ให้บรรทุกสูงไม่เกิน 3.0 เมตร จากพื้นทาง เว้นแต่รถบรรทุกที่มี ความกว้างของรถเกิน 2.3 เมตร ให้บรรทุกสูงไม่เกิน 3.8 เมตร กรณีรถบรรทุกคอนเทนเนอร์สูงไม่เกิน 4.0 เมตรจากพื้น ข้อกำหนดเกี่ยวกับความเร็วของรถ ความเร็วของรถบรรทุกตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางรถ พ.ศ.2522 ดังนี้
1.รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัม ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาลให้ขับไม่เกิน 60 กิโลเมตร หรือนอกเขตดังกล่าวให้ขับไม่เกินชั่วโมงละ 80 กิโลเมตร
2.รถบรรทุกอื่น ๆ รถพ่วงบรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัม ให้ขับในเขต กรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตของเทศบาล ไม่เกินชั่วโมงละ 45 กิโลเมตร หรือนอกเขตดังกล่าว ไม่ เกินชั่วโมงละ 60 กิโลเมตร
โครงสร้างต้นทุนในการขนส่งสินค้า
โครงสร้างต้นทุน Cost Structure
ต้นทุนคงที่ : Fixed Cost การประกอบการขนส่งด้วยรถบรรทุกมีต้นทุนคงที่ อยู่ระหว่างร้อยละ 10- 30 ของต้นทุนรวม ต้นทุนคงที่ต่ำ เพราะผู้ประกอบการไม่ต้องลงทุนก่อสร้างถนนเอง รัฐบาลเป็นผู้ลงทุน ก่อสร้างถนนและบ่ารุงรักษา ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนรถบรรทุก ต้นทุนคงที่อีกประการคือ การลงทุนสถานี ผู้ประกอบการ LTL ลงทุนสถานีมาก ขณะที่ผู้ประกอบการ TL ลงทุนสถานีเพียงเล็กน้อย ต้นทุนคงที่ ประกอบด้วยรายการต่อไปนี้
1.ต้นทุนสินทรัพย์เคลื่อนที่ : Mobile Asset ต้นทุนคงที่ ประกอบด้วยต้นทุนสินทรัพย์เคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่ ได้แก่ยานพาหนะขนส่ง ต้นทุน ยานพาหนะ ประกอบด้วยดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เพื่อซื้อยานพาหนะ อัตราดอกเบี้ยผันแปรไปตามตลาดทุน และ นโยบายการเงินของรัฐ อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยในทศวรรษที่ผ่านมา อยู่ในระดับต่ำ การซื้อยานพาหนะบริษัทจะใช้เงิน ของบริษัทบางส่วนหรือทั้งหมด เงินลงทุนส่วนนี้ต้องน่ามาคำนวณเป็นต้นทุนเงินทุนด้วยต้นทุนเงินทุนทาง เศรษฐศาสตร์ใช้ค่าเสียโอกาส (opportunity cost) มาคำนวณ
2.ต้นทุนสินทรัพย์ไม่เคลื่อนที่ : Fixed Asset สินทรัพย์ไม่เคลื่อนที่ มีดังนี้ -ต้นทุนอาคาร ต้นทุนอาคารจะประกอบด้วย 1) ต้นทุนสถานีผู้ประกอบการ 2) ต้นทุนโรงเก็บและซ่อมแซมยานพาหนะ 3) ต้นทุนส่านักงาน
-ค่าเสื่อมราคา : Depreciation อาคารและยานพาหนะมีอายุการใช้งาน ยานพาหนะและอาคารจะเสื่อมค่าลงเมื่อเวลาผ่านไป การ คำนวณค่าเสื่อมราคา เป็นไปตามหลักบัญชีหรือตามกฎหมาย
-ต้นทุนการจัดการ : Management Cost การด่าเนินธุรกิจมีต้นทุนการบริหาร ต้นทุนบริหารประกอบด้วยเงินเดือนค่าจ้าง ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่จ่าเป็น เพื่อให้การจัดการมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบสารสนเทศและ สื่อสาร
-ต้นทุนสาธารณูปโภค : Overhead Cost บริษัทมีค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนนอกจาก 4 ข้อที่กล่าวข้างต้นแล้ว บริษัทยังมีต้นทุนอื่น ๆ เช่น ค่าไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์
พาหนะที่ใช้ขนส่งมาตรการ และด่านชั่งน้ำหนัก
ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสินค้าทางถนน ส่วนใหญ่นิยมใช้รถบรรทุกขนาดตั้งแต่ 6 ล้อ 10 ล้อ และ มากกว่า 10 ล้อขึ้นไป เนื่องจากสามารถบรรทุกสินค้าได้จำนวนมากพอที่จะทำการรวบรวม และกระจาย สินค้า นอกจากนี้ ยังสามารถเข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ โดยไม่ต้องคำนึงถึงสภาพภูมิอากาศ มากนัก และใช้บุคลากรในการดำเนินงานจำนวนไม่มาก เมื่อเทียบกับการขนส่งรูปแบบอื่น สามารถ ปรับเปลี่ยนภาชนะที่ใช้บรรทุกได้ตามลักษณะของสินค้าได้หลากหลาย ซึ่งประเภทของรถบรรทุกตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 4 ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ในปี พ.ศ. 2547 สถิติจำนวนรถบรรทุก จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก มีจำนวนรถบรรทุก ประเภทต่าง ๆ รวมทั้งสิ้นประมาณ 675,000 คัน โดยในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2542 ถึง 2547 จำนวนรถบรรทุก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี แต่หากพิจารณาเฉพาะตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา พบว่า จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนมีแนวโน้มลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 1 ต่อปี สำหรับ ในเรื่องน้ำหนักบรรทุก อนุญาตได้มีกาปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับวิวัฒนาการขนส่ง และการ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยในอดีตกฎหมายกำหนดพิกัดน้ำหนักบรรทุกไว้ที่ 16 ตัน แล้วจึงเพิ่มเป็น 18 ตัน และในปี พ.ศ. 2518 จึงเพิ่มเป็น 21 ตัน ต่อจากนั้น ปัจจุบันรัฐบาลได้ออกบทเฉพาะกาล ผ่อนผันให้รถบรรทุก 10 ล้อ สามารถบรรทุกสินค้าได้เพิ่มขึ้นเป็นน้ำหนักรวมรถ 26 ตัน จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2548 โดย ล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2549 ได้ประกาศน้ำหนักรถบรรทุกใหม่ นอกจากในเรื่องของน้ำหนักบรรทุกแล้ว การขนส่งทางถนนยังมีการบังคับใช้มาตรการห้ามเดิน รถบรรทุก เพื่อเป็นการลดปัญหาการจราจรติดขัดในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เป็นศูนย์กลางด้านธุรกิจและ พาณิชยกรรม ซึ่งเป็นทั้งแหล่งผลิตและแหล่งบริโภคที่สำคัญของประเทศ ดังนี้
เขตกรุงเทพมหานครชั้นใน (รัศมี113 ตารางกิโลเมตร) ห้ามเดินรถบรรทุกขนาดใหญ่ (10 ล้อขึ้นไป) ช่วงเวลา06.21-21.00 น. ยกเว้นรถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ที่บรรทุกคอนกรีตผสมเสร็จ รถเครน และรถที่ได้รับ การผ่อนผัน ซึ่งมีข้อบังคับไว้เฉพาะคือ เดินรถได้ภายในเวลา 10.00-15.00 น.
ทางด่วนทุกขั้น ห้ามเดินรถ 6 ล้อ เวลา 06.00-09.00 น. และ 16.00-20.00น. และห้ามเดินรถ ตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป เวลา 05.00-09.00น. และ 15.00-21.00 น.
วงแหวนตะวันตก ห้ามเดินรถ 6 ล้อขึ้นไป เวลา 06.00-09.00 น. และ 16.00-20.00 น.
ถนนสุขสวัสดิ์-พระราม 2 ห้ามเดินรถ 6 ล้อขึ้นไป เวลา 06.00-09.00 น. และ 16.00-20.00 น.
สมุทรปราการ ห้ามเดินรถ 10 ล้อขึ้นไป เวลา 05.00-08.00 น. และ15.00-19.00 น. การใช้มาตรการจำกัดเวลาเดินรถบรรทุกทำให้เกิดการจราจรของรถบรรทุกหนาแน่นบนเส้นทางใน ช่วงเวลาที่อนุญาตให้วิ่ง นอกจากนี้ ยังเกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากประชาชน ที่อาศัยบนถนนในเส้นทางที่ รถบรรทุกขนาดใหญ่เปลี่ยนมาใช้เส้นทาง และส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการขนส่งสินค้าโดยตรงทำให้ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานขนส่งสินค้าสูงขึ้น เนื่องจากต้องเพิ่มจำนวนเที่ยวในการขนส่งสินค้า และเสียค่าจ้าง แรงงานล่วงเวลา คนขับเกิดความเหนื่อยล้าเกิดความเจ็บป่วย ลดความแน่นอนของการให้บริการและความ ปลอดภัย และเพื่อเป็นการเพื่อลดต้นทุนการขนส่งจึงมีการเพิ่มน้ำหนักบรรทุกในแต่ละเที่ยวเกินกว่ากฎหมาย กำหนด ทำให้สภาพของทางหลวงแผ่นดินเกิดความชำรุดอย่างหนัก ก่อนถึงเวลาอันควร ก่อให้เกิดปัญหาทั้ง ทางด้านการจราจรและอุบัติเหตุ ทั้งนี้ กรมทางหลวงในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมบำรุงทางหลวง จำนวนมาก เพื่อเป็นการควบคุมมาตรฐานน้ำหนักรถบรรทุกให้เกิดประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายในการซ่อม บำรุงผิวทาง กรมทางหลวงจึงได้จัดให้มีด่านชั่งน้ำหนัก เพื่อควบคุมรถบรรทุกตามทางหลวงหลักของประเทศ ประกอบด้วย
ด่านชั่งน้ำหนักถาวร และด่านชั่งน้ำหนักขณะรถวิ่ง (Weight in motion; WIM) มีรายละเอียด ดังนี้
1.ด่านชั่งน้ำหนักถาวร หมายถึง ด่านที่ตั้งประจำบนทางหลวง โดยจะติดตั้งเครื่องชั่งน้ำหนักแบบ อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสามารถชั่งรถบรรทุกได้ทั้งคัน โดยจะติดตั้งในทางสายหลักและในเส้นทางที่มีปริมาณ การจราจรสูงโดยรอบกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 14 แห่ง และมีแผนการติดตั้งเพิ่มอีก 81 แห่ง ภายใน 3 ปี
2.ด่านชั่งน้ำหนักขณะรถวิ่ง(Weight in motion; WIM) หมายถึง ด่านชั่งน้ำหนักที่ติดตั้งอุปกรณ์ชั่ง น้ำหนักไว้บนพื้นถนนแบบ High
Speed WIM ที่สามารถชั่งน้ำหนักขณะที่รถเคลื่อนที่ได้ (เมื่อวิ่งด้วยความเร็ว 16-36 กม./ชม.) ซึ่งด่านชั่งน้ำหนักนี้จะติดตั้งก่อนถึงด่านชั่งน้ำหนักถาวรประมาณ 1 กิโลเมตร สามารถเก็บ รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อใช้ในการออกแบบปรับปรุงทาง และเพื่อใช้คัดแยกรถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกินเข้าด่าน ชั่งน้ำหนักถาวร (Pre-screening) โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ทำการก่อสร้างจำนวน 10 แห่ง โดย ตำแหน่งที่ติดตั้ง